เมื่อได้ยินชื่องานเทศกาลนวัตศิลป์นานาชาติ ตอนแรกยังงงไม่ค่อยเข้าใจว่ามันเกี่ยวกับอะไร ได้ดูจากการประชาสัมพันธ์ทางสื่อทีวีทางข่าวเลยรู้สึกสนใจขึ้นมาทันทีเลยเพราะว่าเป็นหัตศิลป์ที่นานาชาตินำมาจัดแสดง.    หลักๆแล้วก็คงต้องการเปิดโอกาส เป็นช่องทางให้งานด้านศิลปะขยายออกไปสู่ตลาดต่างประเทศ. ซึ่งฟังยังไงแล้วก็ยังนึกไม่ออกว่า ดิฉันจะพาลูกๆไปชมงานเทศกาลนี้ด้วยเหตุผลอะไร.           เลยต้องเกริ่นนิดหนึ่งว่า. สองสาวเอมิจังกับนัตซึนั้นเป็นคนชอบงานศิลปะด้านต่างๆ แต่ไม่ได้เก่งนะค่ะแบบว่าชอบดูชอบทำ.     หมายถึง ชอบวาดรูประบายสี ชอบทำงานประดิษฐ์ ชอบงานปั้นต่างๆ ชอบดูสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกๆใหม่ๆ. ชอบของสวยๆงามๆ. และงานนี้ก็เป็นงานที่เกี่ยวกับศิลปะการประดิษฐ์ในหลายๆรูปแบบ.  ตัวดิฉันเองก็คงจะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่ตรงนักสำหรับ. นักการตลาดหรือนักขายที่จะมานำเสนอนวัตศิลป์ใหม่ๆ.  แต่ดิฉันมองว่ามันคือประโยชน์ของการต่อยอดทางความคิดและจินตนาการสำหรับเด็กๆ. อย่างเช่น.งานทอผ้าชนิดต่างๆ งานผ้าไหมที่ในงานนำมาจัดแสดงให้ดู ทำให้ลูกเห็นของจริงของการได้มาซึ่งผ้าทออันสวยงามและมีเรื่องราวลวดลายที่แตกต่างกันไป.               งานจักสานที่ต้องใช้ความละเอียดละออในการสร้างชิ้นงาน. หรือแม้แต่งานเครื่องเงินเครื่องทองของประดับที่ต้องใช้ฝีมือที่ละเอียดอ่อน(ซึ่งนัตซึชอบมากพวกของประดับเนี่ย). ในงานมีการจัดแสดงในส่วนของการนำวัสดุธรรมดาๆ มาจัดแสดงเป็นชิ้นงานที่สวยงามมากอย่างโคมไฟใหญ่ที่ทำจาก ผ้า โครงลวด ลูกปัด. กระดาษลูกฟูก เศษผ้า ซึ่งหลายๆชิ้นเป็นงานที่โชว์ไอเดียและนำเสนอความคิดสร้างสรรค์. ชิ้นที่เอมิชอบเป็นงานหนังโดยการนำเอาแผ่นหลังที่เจาะฉลุเป็นลวดลายสัตว์ต่างๆและใช้ติดผนังคู่กับหลอดไฟ ซึ่งทำได้สวยงามมาก. เอมิจังยืนมองแล้วมองอีกอยู่นานเลยว่าทำยังไง.   (มันไม่ง่ายนะลูก ใช้ฝีมือและอุปกรณ์อีกด้วย ). ตอนแรกที่คุณพ่อจะขับรถมาส่งที่ไบเทค. ก็ยังสงสัยว่า ดิฉันจะพาลูกๆมาทำอะไรกันที่นี่เนี่ย มันจะเกี่ยวกับเด็กๆได้ยังไง เลยบอกว่า นี่แหละโอกาสทองของการได้เห็นของจริงว่าศิลปะที่สวยงามมันเป็นอย่างไรและจะได้มีโอกาสลองร่วมทำเวริคช้อปกับแต่ละบูธที่มาแสดงในงานด้วยซึ่งมีหลากหลายงานประดิษฐ์ให้ลองทำได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย
            เมื่อสองสาวเริ่มคันไม้คันมืออยากลงมือประดิษฐ์ชิ้นงานของตัวเองแล้ว คุณแม่เลยลงชื่อลงทะเบียนทำกิจกรรมต่อๆกันไปเลย แต่ก็ทำได้ไม่ครบทุกอย่างที่มี. แต่อย่างน้อยก็ได้ทำ ศิลปะการถักเชือกจีน (เอมิกับนัตซึถักพวงกุญแจรูปแมลงปอ ส่วนคุณแม่ถักสร้อยข้อมือร้อยมุก).
         
            ทำฟุโรชิกิศิลปะผูกผ้าลดโลกร้อนเป็นของมหาวิทยาลัยวาเซดะมาออกบูธสอนทำ(งานนี้ได้หัดผูกผ้าแบบญี่ปุ่น ทำเป็นหมวก. สอนห่อกล่องด้วยผ้า   หลังทำเสร็จมีแจกผ้าผืนสวยๆลายแบบญี่ปุ่นกับคู่มือหัดผูกเอาไปฝึกผูกกันต่อที่บ้านอีก พร้อมบอกเล่าที่มาที่ไปของคำว่า ฟุโรชิกิ. ว่ามาจากวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่นที่ต้องห่อของห่อผ้าไปอาบน้ำที่ห้องน้ำสาธารณะ ฟุโรคือบ่อที่อาบน้ำ ชิกิคือการห่อ เลยรวมเป็นการห่อผ้าใส่ของเวลาจะเดินทางไปไหนหรือห่อของเพื่อมอบเป็นของขวัญ)

            ทำพวงมโหตร (อ่านว่า พวง-มะ-โห-โคต) เป็นศิลปะการตัดกระดาษให้มีรูปทรงออกมาเป็นพวงระย้ายาวๆ แล้วผูกเชือกมีด้ามแขวนไว้ให้สวยงาม อาจารย์ที่สอนทำบอกว่า คำว่ามโหโคตรนั้นมาจากคำว่า. รโหฐาน นั่นเอง (งานนี้สองสาวนั่งตัดกระดาษกันเพลินเลย)

            ทำของเล่นโบราณ เอ. ..เรียกว่า. ติ๊ดตี่. หรือเปล่าน้า. อันที่เป็นดินเหนียวตัดเป็นทรงกระบอกเปิดหัวท้ายแล้วปิดด้วยกระดาษด้านหนึ่งแล้วเจาะรูร้อยเชือกป่าน พันกับไม้อีกอันที่ทายางสนไว้. เวลาเหวี่ยงจะเกิดเสียงเหมือนจิ้งหรีด(เสียงจากเชือกเสียดสีกับยางไม้).  ชิ้นนี้ทำไม่ยากแป๊บเดียวก็เสร็จ

            ทำกระเป๋ากระดาษลดโลกร้อน.   มีวัสดุอุปกรณ์ในการทำหลายชิ้นซึ่งไม่ยากจนเกินไป.  แต่ใช้เวลาทำนานเพราะต้องประกอบและประดิษฐ์ตกแต่งมีรายละเอียดการทำซึ่งอันนี้ต้องเอากลับมาทำต่ออีกที่บ้าน(ซึ่งของที่ใช้ทำก็ฟรีอีกแล้วอ่ะ). แถมมีสัมภาษณ์คุณแม่ออกทีวีที่ตั้งกระจายไว้ตามจุดต่างๆในไบเทคด้วย เขินอ่ะ

            ทำศิลปะการพันขวดคือการนำเอาเศษผ้า. เชือก ลูกปัด มาประดิษฐ์ตกแต่งตามไอเดียของแต่ละคนว่าจะพันเชือกรอบขวดออกมาเป็นลวดลาย สีสันอย่างไรอันนี้ชิ้นงานตามใจฉันเลยค่ะ

ที่พลาดไปไม่ได้ทำคือ. ผ้ามัดย้อมกับเดโคพาจ.    แต่เผอิญเมื่อวานไปที่งานสมาชิกสัมพันธ์ของอพวช(4 พ.ค.56)ได้ทำเดโคพาจแล้ว เลยไม่เป็นไร. งานหน้าถ้ามีอีกรับรองว่าไม่พลาดแน่ๆค่ะ.       สรุปว่าตะลุยร่วมกิจกรรมไปเกือบทุกโต๊ะเลย. ได้ประสบการณ์กลับมาเพียบ.  งานนี้จัดเป็นวันสุดท้ายพอดี(2-5พ.ค.). ถ้าไม่มาก็เสียดายแย่เพราะสนุกทุกๆกิจกรรมเลย. ไปตั้งแต่11โมงเช้า ออกจากงานตอน ทุ่มครึ่ง. ใช้เวลาคุ้มจริงๆเล้ย.
ใครที่ได้ไปร่วมงานมาบ้างอย่าลืมมาเล่าให้ฟังกันบ้างนะค่ะ  สำหรับเด็กๆนอกจากจะให้ความรู้ทางศาสตร์แล้วก็ต้องเติมความรู้และทักษะทางศิลป์ด้วยก็จะช่วยสร้างสมดุลในตัวเด็กๆด้วยนะค่ะ