- มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ผมรวบรวมไว้ในเว็บ momypedia  แล้วเลยอยากจะนำมาเก็บไว้ในบล๊อกนี้ด้วยครับ มีต้้งแต่เรื่อง การออกเสียงที่ลงท้ายด้วย ed,  ว่าด้วย i กับ e,  และตบท้ายด้วยอักษรที่ไม่ออกเสียง จะได้สอนเด็ก ๆ ได้ถูกครับ


การออกเสียงคำที่ลงท้ายด้วย ed 

stopped , wanted, bloomed, laughed ใครคิดว่าอ่านได้ถูกยกมือขึ้นครับ

1 ถ้ากริยานั้นลงท้ายด้วย t และ d ให้อ่านเป็น ถิด หรือ ดิด 

เช่น wanted อ่านเป็น ว้อนถิด neeeded อ่านเป็น นี้ดดิด

2 ถ้ากริยานั้นลงท้ายด้วยเสียงไม่สั่นที่คอ ได้แก่ เสียง p k f s x sh ch (ผมสอนลูกท่องเป็น พี่ใครฟันสวยฉึพี่ p, ใคร k, ฟัน f, สวย s x, ฉึ sh ch) ให้ออกเสียงเป็น ถึ

เช่น stopped อ่านเป็นสต็อบถึ (ไม่ใช่ สต็อบปิด) picked อ่านเป็น พิกถึ laughed อ่านเป็น ล้าฟถึ (gh ในที่นี้ออกเป็นเสียง f)

3 ถ้าไม่ใช่ 2 กรณีข้างบน ให้อ่านออกเสียงเป็น ดึ 

เช่น stabbed อ่านเป็น สแต็บดึ bloomed อ่านเป็น บลูมดึ signed อ่านว่าซายน์ดึ

- ลองจำไว้สอนลูกดูได้เลยครับ ไม่ยากเลย alt alt alt

IE หรือ EI (เมื่อออกเสียง อี)

เช่น thief i อยู่หน้า e แต่ receive e อยู่หน้า i

คำประพันธ์ช่วยจำ

I before E (I อยู่หน้า E)
Except after C (ยกเว้นอยู่หลัง C)
When sound is E (เมื่อเสียงออกเป็น อี)

เช่น 

- achieve, believe, field, niece 

- ceilling, conceit, receipt, deceit 

หลักนี้ใช้ได้เฉพาะเมื่อออกเสียงเป็น "อี" เท่านั้นครับ ถ้าออกเป็นเสียงอื่น ๆ ก็ไม่เข้ากับหลักนี้ alt alt alt

ที่มา: สะกดคำอังกฤษให้ถูก (Spelling) โสภณา จำปาเงิน สนพ. โอเดียนสโตร์


เสียงใบ้ (SILENT) ในภาษาอังกฤษ 


- เคยไหมครับ จะสอนลูกอ่านภาษาอังกฤษ แต่ก็ไม่รู้ว่าทำไมคำบางคำถึงได้อ่านออกมาแบบประหลาด ๆ เลยอธิบายให้ลูกฟังไม่ได้ เช่น ทำไม knee ไม่ออกเสียง k (ออกเป็น นี) sign ไม่ออกเสียง g (ออกเป็น ซายน์)

- วันนี้ ผมจะนำเสนอเรื่องตัวพยัญชนะที่ไม่ออกเสียงครับ

- silent letters ที่เราควรรู้จักได้แก่ b, c, d, g, h, k, l, n, r, s, t และ w

- b จะเงียบ เมื่ออยู่กับ m เช่น bomb (บอม) comb (โคม) climb (ไคลม) (แถมให้ว่า bombing อ่านว่าบอมมิ่ง ไม่ใช่บอมบิ้งครับ) b ยังเงียบเมื่ออยู่หน้า t ด้วย เช่น debt (เด๊ทถึ) doubt (เด๊าถึ) subtle (ซัททึล)

- c เงียบเมื่ออยู่ในรูป -scle และอยู่ท้ายคำ เช่น muscle (มั๊สซึล ไม่ใช่ มัสเคิล) c ยังเงียบถ้าตามหลัง s เป็น sc และตามด้วยสระ i e หรือ y เช่น science (ไซอึนซ) scene (ซีนเหน่อะ) scissors (ซิ๊สเซอส)

- d จะเงียบเมื่ออยู่ใน 2 คำนี้คือ handkerchief (แฮ๊งเคอะชิ๊ฟ) handsome (แฮ๊นซึ่ม)

- g จะเงียบเมื่ออยู่หลัง m (เป็น gm) และอยู่ท้ายคำ เช่น diaphragm (ดายอะแฟรม) phlegm (เฟลมเหมอะ) ในทำนองเดียวกันเมื่อตามหลัง n (เป็น gn) ก็จะไม่ออกเสียง g เหมือนกัน เช่น sign (ซายเหน่อะ) design (ดีซายเหน่อะ) foreign (ฟ๊อเรนเหน่อะ) gnat (แน๊ทถึ)

h จะเงียบเมื่อ 1) อยู่ตามหลัง r (เป็น rh) เช่น rhythm (รี๊ธึ่ม) rhinoceros (ไรน๊อเซอรึส) 2) อยู่ตามหลัง w (เป็น wh) เช่น why (วาย) what (ว๊อท) white (ไวทถึ) whoops (วุ๊พส) (แต่ who_ บางทีไม่ออกเสียง w ไปซะหยั่งงั้น เช่น who (ฮู) whose (ฮูส) ถือเป็นข้อยกเว้น) whole (โฮล) 3) ตามหลัง ex (เป็น exh) เช่น exhibit (อิกซิบิท) exhaust (อิกซ๊อสท) exhibition (อิกซิบิ๊ชึน) 4) อื่น ๆ เช่น hour (อาวเหร่อะ) honest (อ๊อนเนส) school (สกูล) vehicle (วี๊อิคึล)

- k  จะใบ้ไปในคำที่ขึ้นต้นด้วย kn เช่น know (โนว) knee (นี) 

- l  จะใบ้ ถ้าอยู่หน้า f, d, k, m ในตำแหน่งท้ายคำ เช่น behalf (บิฮาฟ), calf (คาฟ), calm (คาม), palm (ปาม), could (คู้ด), would (วู้ด), folk (โฟค), talk (ท้อค)

- n จะใบ้ถ้าอยู่หลัง m เป็น mn เช่น column (ค้อลึม), autumn (อ๊อทึม), damn (แดม)

p จะไม่ออกเสียงถ้าอยู่คู่กับ s และ n เป็น ps หรือ pn เช่น psychic (ไซคิก) psalm (ซาม) pneumonia (นูโมนิเออะ)

- r จะเงียบถ้าอยู่ท้ายคำในการออกเสียงแบบอังกฤษเช่น car (คา), door (ดอ)

- s จะใบ้เมื่ออยู่ในบางคำเช่น aisle (อายเหล่อะ) island (ไอ๊ลึนดึ) 
(ถ้า ps ไปอยู่ในบางคำเช่น corps ไม่ออกทั้ง p และ s ออกเป็น "คอ" เฉย ๆ (อเมริกันเป็น คอเหร่อะ))

- t จะเงียบเมื่อประกอบ เป็น sten, stle ในตำแหน่งท้ายคำ เช่น fasten (ฟาสซึ่น), hasten (เฮสซึ่น), glisten (กลิสซึ่น), castle (คาสซึล), wrestle (เรสซึล) (w ก็ไม่ออกเสียงด้วย) t ยังใบ้ในท้ายคำบางคำ เช่น ballet (แบ๊ลเหละ), buffet (บุ๊ฟเฟ่ะ), crochet (โครเช่ะ), debut (เด๊บู) นอกจากนี้ก็ยังเงียบใน soften (ซ๊อฟฟึน) christmas (คริ๊สมัส) mortgage (ม๊อกิจย)

- w จะไม่ออกเสียงเมื่อคู่กับ r เป็น wr เช่น write (ไร้ทถึ) หรือจับคู่กับ s เป็น sw (เฉพาะบางคำ) เช่น answer (แอ๊นเซ่อะ), sword (ซ้อด) และยังมี two ที่ไม่ออกเสียงด้วย (เป็นทู ไม่ใช่ two)

ที่มา: ออกเสียงภาษาอังกฤษยังไง ? ... ไม่ให้ฝรั่งงง ผศ.ดร. พนิตนาฏ ชูฤกษ์ พิมพ์ที่บริษัทเฟิสท์ ออฟเซท (1993) จำกัด 

หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ในสอนลูกครับ ใครมีอะไรมาเพิ่มเติมก็จะเป็นประโยชน์เป็นอย่างมากด้วยครับ {#emotions_dlg.cool} {#emotions_dlg.cool}