ทุกครั้งเวลาเห็นลูกนั่งอ่านหนังสือแล้วอ้อยจะรู้สึกดีค่ะ ไม่ทราบเพื่อนๆเป็นเหมือนกันไหม กานต์เป็นเด็กชอบอ่านหนังสือมาก
(แต่ตอนนี้อาจสูสีกับเกมส์..55) {#emotions_dlg.smile}

ถ้าแกล้งเอาหนังสือเล่มใหม่วางไว้ให้เห็นจะทนไม่ได้ต้องขออ่านก่อนทำอะไรทั้งสิ้น แล้วก็จมอยู่กับหนังสือแบบไม่ไล่ไม่เลิกกันเลยทีเดียว 
อย่างตอนถ้าไปห้างแล้วเบื่อเดินกับพ่อแม่ก็จะขอแยกตัวไปร้านหนังสือ ร้านประจำก็คือ se-ed ค่ะคงมากกว่า 8 สาขา ที่น้องกานต์เคยไป
เช็ดพื้นให้เขามาแล้ว (ก็ไปนั่งอ่านที่พื้นร้านน่ะค่ะ)

ทำให้มานึกย้อนไปว่าจุดเริ่มตรงไหนกันนะ ที่มีส่วนทำให้ลูกรักการอ่านขึ้นมาได้ ขอเรียงลำดับตามอายุลูกดังนี้ค่ะ

 

ก่อนวัยเรียน – ตั้งแต่ลูกเริ่มหัดหยิบจับของ อ้อยซื้อหนังสือโฟมมาให้เขาเล่น ทำความคุ้นเคยกับรูปลักษณ์ของหนังสือ

แม่อ่านให้ฟังบ้าง ชี้ชวนดูรูปบ้าง ฝ่ายลูกก็เอามากัด เอามาขว้างปา หรือเอามาเรียงต่อเป็นขบวนรถไฟบ้างก็ไม่เป็นไร

ขอให้เขาเกิดความรู้สึกว่าหนังสือคือของเล่นคุ้นมือ สนิทสนมคุ้นเคยและให้ความสนุกกับเขาได้

ส่วนหนังสือกระดาษพวกนิทานภาพต่างๆก็จะมีค่ะ แต่ไม่ให้เป็นของเล่นจะเอาไว้อ่านให้ฟังก่อนนอนทุกคืน

(เวลาอ่านนิทานให้ลูกฟังจะชี้นิ้วไล่ตามคำพร้อมกับการออกเสียงไปด้วย ลูกจะจดจำคำเหล่านั้นในลักษณะเดียวกับ

จำภาพและช่วยให้อ่านหนังสือออกได้เร็วค่ะ)

ในวัยอนุบาล1-2 นอกจากแม่จะอ่านนิทานให้ฟังแล้ว กานต์ก็จะเริ่มอ่านนิทานภาพเอง ขอแบบตัวหนังสือน้อยๆ รูปใหญ่สวยๆ

วัยขนาดนี้เด็กๆจะชอบอ่านออกเสียง ระหว่างที่ลูกอ่านเราควรฟังลูกนะคะ (หรือแกล้งทำเป็นฟังก็ได้ แล้วเออ ออเข้าเรื่อง

แบบเนียนๆ ก็สบายอยู่แล้วเพราะแต่ละเรื่องลูกอ่านซ้ำไปมาไม่รู้กี่เที่ยวแล้วนี่นา..ทำไมจะจำไม่ได้..อิอิ) เมื่อลูกอ่านจบก็ชื่นชม

หอมแก้มลูกนี่เป็นสุดยอดรางวัลของเด็กๆเลยนะคะ  ถ้าเราฟังลูกอ่านคำไหนที่ออกเสียงไม่ชัดจะได้ช่วยแก้ไข หรือเจอคำยาก

ก็ช่วยเขาอ่านให้ลูกจะได้ไม่หงุดหงิด หมดกำลังใจจะอ่านต่อ

พอขึ้น อ.3 ตอนนี้อ่านในใจได้แล้วก็มาชอบอ่านปังปอนด์ที่เป็นภาพขาวดำเพราะชอบมุกตลก นั่งอ่านขำกั่กๆอยู่คนเดียว

ตอนนี้ลูกไม่อ่านให้เราฟังอีกแล้วนอกจากว่าเจอมุกไหนตลกมากๆ ก็จะดึงมือเราไปดูเพื่อให้ร่วมขำด้วยเป็นระยะๆ

อ้อยก็จะเลือกหนังสือที่ชอบมาอ่านด้วยพร้อมๆกันกับลูก  เพราะถ้าเราดูละครหรือเล่นเกมส์ก็อาจดึงความสนใจของลูกไปได้

ถ้ารอบตัวเขามีหนังสือเป็นสิ่งแวดล้อม เห็นคุณพ่อคุณแม่ก็อ่านหนังสือ ลูกก็ต้องรักการอ่านได้ไม่ยากเลย

 

ขึ้นชั้นประถม ก็มาติดการ์ตูนความรู้เกาหลีจากค่ายต่างๆ ทั้ง นานมีบุ๊คส์ , se-ed kiddy ตอนนี้ไม่ต้องชักชวนแล้วค่ะ

ลูกโดดเข้าใส่เองเลย พาลูกไปเที่ยวงานหนังสือบ้างเมื่อมีเทศกาลลดกระหน่ำนะคะให้เขามีโอกาสเลือกซื้อหนังสือเอง

ตอนกานต์ไปครั้งแรกก็ตื่นเต้นมาก มีแต่หนังสือเต็มไปหมดแม่ก็พาตะลุยเข้าบู๊ทนั้นบู๊ทนี้ โน้มน้าวชี้ชวนหนังสือมากมาย

ในที่สุดลูกก็เลือกมาแต่การ์ตูนพวกนี้ทั้งนั้น ก็ต้องยอมค่ะ อย่างน้อยในความสนุกก็พ่วงความรู้ไปด้วย และเพื่อนบอกว่า

เคยไปถามเด็กๆที่ได้เหรียญสสวท.หลายๆคนบอกว่าชอบอ่านการ์ตูนความรู้พวกนี้ อาจจะจริงเพราะกานต์ก็เป็นค่ะ

ในงานหนึ่งอ้อยมีโอกาสได้เจอ อ.ชีวัน วิสาสะ ปรมาจารย์นิทานเด็กชื่อดังเจ้าของ “อีเล้งเค้งโค้ง” ขวัญใจเด็ก

จึงขอปรึกษาเรื่องวัยของเด็กกับหนังสือ เพราะอ้อยอยากให้ลูกเปลี่ยนจากการ์ตูนความรู้หันมาอ่านวรรณกรรมเยาวชนบ้าง

อ.ชีวันบอกว่า ต้องรอพ้นช่วง 10 ขวบ เด็กที่อ่านหนังสือจะหันมาสนใจหนังสือประเภทวรรณกรรมเยาวชนได้เอง

เฮ้อ..ค่อยคลายใจหน่อยว่ายังมีเวลาเพราะตอนถามอ.ชีวันกานต์ 8.7 ขวบ อ้อยเกรงว่าลูกจะติดการ์ตูนความรู้จนแกะไม่ออก

เพราะมันก็ดูต๊องๆอยู่เหมือนกัน  แต่ในความเห็นของลูกบอกว่า “คุณแม่อ่านหนังสือแบบนั้นได้ยังไงมีแต่ตัวหนังสือทั้งนั้น

รูปประกอบเล็กนิดเดียว”  เลยตอบว่ามีรูปน้อยเพื่อให้เราจินตนาการเองตามใจชอบ ไม่ตีกรอบเราไงล่ะ สักวันลูกจะชอบนะ

อ้อยเป็นคนชอบอ่านวรรณกรรมเยาวชนอยู่แล้วก็เลยซื้อไว้หลายเล่ม ช่วงหลังๆก็เอามาวางไว้ให้ลูกเห็นบ่อยๆ บางทีก็พูด

คุยเรื่อเนื้อหาของเล่มนั้นๆให้เขาฟังเพื่อกรุตุ้นความอยากรู้ ซึ่งเป็นนิสัยพื้นฐานของเด็ก จนตอนนี้กานต์เริ่มอ่านวรรณกรรม

ที่มีแต่ตัวหนังสือเต็มหน้าได้แล้ว เย้...9 ขวบเอง  

นี่คือวรรณกรรมเยาวชนที่กานต์อ่านจบไปแล้ว และเรื่อง" เกาะโลมาสีน้ำเงิน" กำลังอ่านค้างอยู่ค่ะ

               


        


อย่ายอมแพ้ในการสร้างลูกให้รักการอ่านหนังสือนะคะ...สู้ สู้